หมวดหมู่: การศึกษา

Prof. Ludo Cuyvers


ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน NIDA ผนึก มหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม วิเคราะห์การส่งออกไทยไปตลาดยุโรปมีโอกาสเติบโต แนะผู้ส่งออกเสริมคุณภาพสินค้ารับประชากร 508 ล้านคน

      ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน NIDA สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับ มหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป(University of Antwerp) ประเทศเบลเยี่ยม ร่วมประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสู่ตลาดอียูมีโอกาสเติบโตได้สูงในอนาคต แม้มีกฎระเบียบความเข้มงวดด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แนะผู้ส่งออกอย่ากังวลเกินเหตุและภาครัฐต้องสนับสนุนผู้ส่งออกไทยเพื่อเก็บเกี่ยวประโยชน์ทางการค้าได้สูงสุด ชิงกำลังซื้อกว่า 508 ล้านคน

       Prof.Ludo Cuyvers ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศูนย์การศึกษาอาเซียน มหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป (University of Antwerp) ประเทศเบลเยี่ยม ในฐานะศาสตราจารย์ผู้บรรยายพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า ศูนย์การศึกษาอาเซียน มหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ได้ร่วมกับ ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขันของ NIDA เพื่อทำการศึกษาข้อมูลขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าส่งออกจากประเทศไทยไปยังตลาดสหภาพยุโรป (อียู) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการส่งออกที่เหมือนจริงแบบจำลอง (The Decision Support Model (DSM) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบโดยเฉพาะเพื่อช่วยในการประเมิน วางแผนและคัดสรรผลิตภัณฑ์ซึ่งพิจารณาแล้วว่าน่าจะก่อให้เกิดโอกาสการส่งออกที่เป็นไปได้ (realistic export opportunities (REOs)) ให้กับประเทศผู้ส่งออกซึ่งพบว่า ประเทศไทยยังมีการส่งออกไปตลาดอียูน้อยกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีความกังวลต่อเรื่องของกฎเกณฑ์ด้านสุขภาพของอียูที่มีความเข้มงวด

      ทั้งนี้ จากการศึกษาประเทศไทยภายใต้หัวข้อ ‘โอกาสในการส่งออกที่เป็นไปได้จริง’ หรือ realistic export opportunities: REOs ถึง 10,858 หน่วยในอียู ซึ่งเท่ากับ 21% ของจำนวนโอกาสในการส่งออกที่เป็นไปได้จริง หรือคิดว่ามูลค่าของศักยภาพการส่งออกถึง 166.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 26.57 % ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยในตลาดโลก

       อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจริงในประเทศไทย หรือการนำเข้าสินค้าเพื่อการส่งออกมีขีดความสามารถแข่งขันไม่ดีนัก จึงเป็นแรงกดดันที่ส่งผลให้จำนวนโอกาสการส่งออกที่เป็นไปได้จริงลดลงเหลือ 4,082 หน่วย ซึ่งเทียบเท่ากับ 25.7 ของมูลค่าการส่งออกโดยประมาณ โดยสาเหตุที่การส่งออกของไทยยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็น คือ ผู้ส่งออกนอกตลาดอียู มีความวิตกกังวลต่อกฎเกณฑ์อันเข้มงวดต่างๆ ที่ใช้บังคับผู้ส่งออกไปยังตลาดอียูที่เกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ศูนย์การศึกษาอาเซียน มหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้การศึกษาก่อนหน้านี้จะพบว่า การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้ FTA ไทยและอียู จะทำให้ไทยมีได้รับประโยชน์มากกว่า 2.6-2.8% ของจีดีพีโดยรวม เนื่องจากไทยเป็นประเทศคู่ค้าของอียูที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน และอียูเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยในโลก รองลงมาจากจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แต่การเจรจา FTA ไทยและอียู ต้องหยุดลงจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ควรให้น้ำหนักมากจนเกินไปในการแยกแยะระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและใหม่ของอียู เช่น ประเทศโปแลนด์และสาธารณรัฐเชค ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ แต่สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกมากกว่าหลายประเทศที่เป็นสมาชิกเดิมในอียู เช่น ออสเตรีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์และสวีเดน

       “การเปิดเสรีตลาดนำเข้าของไทย-อียูภายใต้ FTA จะเปิดโอกาสให้ไทยได้เก็บเกี่ยวประโยชน์ทางการค้าอย่างมาหาศาลไปยังตลาดอียูที่มีอยู่ 28 ประเทศที่มีประชากรกว่า 508 ล้านคน แต่ประเทศไทยเองก็ต้องเตรียมความพร้อมอย่างดีและมีการสนับสนุนโดยยุทธศาสตร์ส่งเสริมการส่งออกที่เหมาะสมจากภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ส่งออกของไทยปรับตัวและตอบสนองกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่จะส่งผลดีต่อสินค้าไทยในตลาดอียู”Prof. Ludo Cuyvers กล่าว

เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์โดย บริษัท เอ็ม ที มัลติมีเดีย จำกัด (ในนามคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: นายพิภพ ฆ้องวง (ท๊อป)โทร.: 02-612-2081 ต่อ 127 หรือ 081-929-8864 E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!