หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

NOKวฒภม จฬางกล


NOK เร่งฟื้นกิจการ ตัดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ ไม่เพิ่มทุน

     NOK เดินหน้าพลิกฟื้นธุรกิจ ทำสายการบินเพื่อคนไทย กลุ่ม’จุฬางกูรผู้ถือหุ้นใหญ๋ใน ไม่มีแผนเพิ่มทุน-ขายทิ้ง เปิดโอกาสพันธมิตรเข้าร่วม เร่งตัดรายจ่ายไม่จำเป็นทุกช่องทาง เตรียมเพิ่มเครื่องบิน-เพิ่มจุดบิน ดันรายได้ค่าตั๋วโดยสาร พร้อมขยายช่องทางเพิ่มรายได้นอกเหนือจากค่าตั๋ว วางเป้าหมายสัดส่วนเพิ่มเป็น 30-40% จากปัจจุบันมีแค่ 10-12%

      นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริหาร บมจ.สายการบินนกแอร์ (NOK) เผยว่า หลังจากเข้ามารับตำแหน่งในช่วงเดือน มิ.ย.62 ได้เข้าไปศึกษาปัญหาที่ทำให้ NOK ตกอยู่ในสถานะการขาดทุน พบว่าปัญหาสำคัญ คือรายจ่ายสูงเกินควร และรายได้ต่ำกว่าสายการบินอื่น ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ต้องเร่งแก้ไข ดังนั้น จึงต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทเพื่อพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาเป็นบวกให้ได้ โดยช่วงที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกันของฝ่ายบริหารของบริหารอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ และจะเข้าสู่การทำ Workshop ก่อนสรุปแผน คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน

      ทั้งนี้ ปัญหาการซ่อมบำรุงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การใช้งานเครื่องบินของ NOK ในอดีตไม่มีประสิทธิภาพมากพอ บางครั้งต้องจอดรอซ่อมถึง 2-4 ลำ ทำให้เกิดปัญหาเครื่องบินดีเลย์ และไม่สามารถขยายจุดบินใหม่ ๆ ได้ และรายจ่ายค่าซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ค่าอะไหล่สูงกว่าราคาตลาดถึงราว 38% ยังไม่รวมค่าแรง

      การแก้ไขช่วงแรกบริษัทได้เจรจาหาผู้ให้บริการซ่อมเครื่องบินรายใหม่ หลังจากสัญญาที่ทำไว้กับรายเดิมทำให้บริษัทเสียเปรียบ ซึ่งคู่เจรจาใหม่รายหนึ่งมาจากสิงคโปร์ ส่วนอีกรายยังมาจากอีกประเทศ ระหว่างนี้บริษัทได้ลงทุนจัดตั้งศูนย์อะไหล่ของตัวเอง ใช้งบลงทุนรวมราว 100 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้แล้วระดับหนึ่ง ทำให้ปัญหาการดีเลย์จากการรอซ่อมบำรุงหมดไป

    นอกจากนี้ ยังมีสัญญาบริการต่าง ๆ ที่บริษัทใช้บริการจาก Outsource ทั้งบริการภาคพื้น การรักษาความปลอดภัย การรขนส่งและโลจิสติกส์ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินควร ซึ่งจะมีการเจรจาต่อรองราคาให้ต่ำลง และหากสัญญาใดหมดอายุลง ได้เปิดให้รายใหม่แข่งขันเสนอราคาเข้ามา อีกทั้ง จำนวนพนักงานมากกว่าปริมาณงาน ซึ่งบริษัทไม่มีนโยบายปลดพนักงาน แต่จะปรับรูปแบบการทำงานเพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และหากพนักงานลาออกจะไม่จ้างคนใหม่มาทดแทน

      สำหรับ การเพิ่มรายได้ เบื้องต้นจะมีการเพิ่มจำนวนเครื่องบิน ซึ่งภายหลังจากการรปลดเครื่องบินแบบ ATR จำนวน 2 ลำไปเมื่อกลางปี ทำให้ปัจจุบันฝูงบินของ NOK มีเครื่องบินเหลือ 2 แบบ คือ โบอิ้ง 737-800 จำนวน 14 ลำ และ Q400 จำนวน 8 ลำ ลดลงจากเดิมที่เคยมีจำนวนมากกว่า 30 ลำ โดยจะเช่าเครื่องบินโบอิ้งเพิ่มเข้ามาอีก 2 ลำ เพื่อรองรับการบินในช่วงไฮซีซั่นในไตรมาส 4/62

      โดยบริษัทมีแผนจะเพิ่มจุดบินใหม่ในญี่ปุ่น อินเดีย และจีน และจะเปิดบินไปยังเมืองอิโรชิมาในเดือน พ.ย.62 และอยู่ระหว่างศึกษาการเปิดจุดบินไปยังเซนได ขณะที่จะเปิดบินไปยังเมืองกูวาฮาติ และวิสาหะนัมทางตอนเหนือของอินเดีย ราวเดือน ต.ค.62 ส่วนในจีนมีหลายจุดบินที่อยู่ระหว่างเตรียมการ หนึ่งในนั้น คือ เมืองอี้อู๋ที่เป็นเมืองการค้า รวมทั้งศึกษาการเปิดจุดบินเพิ่มในเวียดนามจากเดิมบินตรงไปยังฮานอย

       ขณะเดียวกัน จะพิจารณาเพิ่มจุดบินในประเทศที่มีความต้องการสูง ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายจะเพิ่มอัตราการใช้เครื่องบิน (Utilization) ให้เป็นมากกว่า 11 ชม./วัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 9 ชม./วัน และจะเจรจาทำข้อตกลงอินเตอร์ไลน์กับสายการบินต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในไทยกรุ๊ป หรือ เพียวไทย คือ บมจ.การบินไทย (THAI) , ไทยสมายล์ บมจ.บางกอกแอร์เวย์ (BA) รวมถึงสายการบินต่างชาติ เพื่อส่งต่อผู้โดยสารให้กัน ซึ่งจะเป็นช่องทางการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้กับบริษัท และทำให้ผู้โดยสารของ NOK เดินทางไปยังจุดบินต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเอเชีย อย่างเช่น เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น

      และเจรจากับบมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น (SE-ED) โดยใช้สาขาร้านของ SE-ED ในการจองตั๋วโดยสาร ทดลองจาก 10 สาขาในกรุงเทพฯ ก่อนในเดือน ก.ย.2562 และเจรจากับ บมจ.ไอร่า แคปปิตอล (AIRA) เพื่อใช้ฐานข้อมูลลูกค้าของ A-Money และไอร่า แฟคตอริ่ง ให้เข้ามาเป็นลูกค้าของ NOK และในอนาคตอาจจะเพิ่มบริการสินเชื่อรายย่อยในการซื้อตั๋วโดยสารด้วย รวมทั้ง บริษัทยังจะเพิ่มรายได้ในด้านอื่นๆ เช่น การขายสินค้าบนเครื่องบิน หลังจากที่ไม่ได้มีการพัฒนาสินค้ามานาน

      นอกจากนี้ บริษัทยังมีโครงการรเพิ่มรายได้ด้วยการร่วมมือกับตัวแทนด้านท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ และต่างประเทศ เพื่อจัดบริการครบวงจรนำเสนอให้กับลูกค้า และมีรายได้จากส่วนลดที่ได้มา นำร่องด้วยโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงแรม โดยจะคัดเลือกโรงแรมขนาดมากกว่า 100 ห้องในแต่ละจังหวัด เพื่อขายเป็นแพคเกจตั๋วเครื่องบิน+ค่าโรงแรม จากนั้นจะต่อยอดไปยังบริการนำเที่ยวท้องถิ่นด้วย จากก่อนหน้านี้บริษัทได้นำเสนอรูปแบบบริการ Fly and Ride และ Fly and Ferry เพื่อให้บริการไปยังเมืองรองและแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับจุดบินของ NOK

      ทั้งนี้ ยังไม่มีความจำเป็นในการเพิ่มทุน หลังจากได้เงินกู้ 3 พันล้านบาท เข้ามารองรับการขยายธุรกิจแล้ว ซึ่งมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสม แต่ยอมรับว่า ผลประกอบการในปี 2562 ยังขาดทุน โดยเชื่อว่าแผนงานต่างๆ น่าจะทำให้ NOK พื้นจากขาดทุนได้ ในปี2563 น่าจะเริ่มเห็นผลสำเร็จ ซึ่งเงินกู้เพียงพอต่อการขยายธุรกิจตามแผนงาน เพราะขณะนี้ใช้ไปราว 1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เพื่อการซื้อหุ้นเพิ่มทุนของนกสกู๊ต ซึ่งต้นทุนดอกเบี้ยที่ราว 6% ถือว่ารับได้ และจะขอเปิดเจรจากับทางโบอิ้ง เพื่อฟื้นสัญญาเช่าเครื่องบิน 6 ลำ ที่มีกำหนดส่งมอบในปี 2563-64 ที่ถูกทางโบอิ้งยกเลิกสัญญาเนื่องจากบริษัทไม่ได้จ่ายเงินมัดจำในงวดที่ 2

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!